วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555

ว่าด้วยเรื่อง ...เรือรบไทย...ควันหลง...จากหนัง Battleship

ว่าด้วยเรื่อง ...เรือรบไทย...ควันหลง...จากหนัง Battleship


ยุทธการเรือรบพิฆาตเอเลี่ยน

       ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา ผมก็เป็นเด็กนักศึกษาคนหนึ่งที่อยู่แต่หอพักเอเชี่ยนเกมส์ มธ.ศูนย์รังสิต เพราะว่าขี้เกียจมาก.....กับการไปเล่นน้ำสงกรานต์ในที่ต่างๆ.....เพราะว่า....มันร้อน....แบบไหม้ๆเลยแหละ
            เลยทำให้มีโอกาสไปดูหนังเรื่อง Battleship  ยุทธการเรือรบพิฆาตเอเลี่ยน  แบบงงๆ บังเอิญๆมาก เพราะผมเป็นคนไม่ชอบดูหนังฝรั่งก็ว่าได้ (อาจจะเป็นพวกหัวโบราณอนุรักษ์นิยม...ก็ว่าได้) โดยที่ว่านี้ทำไหมถึงได้ไปดูเพื่อนผมมันลากผมไปดู.....เพราะว่าเบื่อๆเซ็งๆ ไม่มีอะไรทำ..........ทว่าปรากฏว่า........เป็นภาพยนตร์ที่ดีมากเรื่องหนังที่ผมดูแล้วชอบ มันอาจจะตรงก็สไตล์ผมเลยก็ว่าได้เพราะมันเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรือรบของอเมริกา และ ทหารเรือ ผมว่าสร้างได้อลังกางานสร้างมากครับ ถึงแม้ในเนื้อหามันไม่มีอะไรมาแต่มันก็สื่อออกมาได้หลายข้อเลยที่เดียว....การทำภาพยนต์เรื่องนี้ไม่ได้แต่แฝงความสนุกของภาพยนตร์แต่แฝงทั้งความเสียสละ ความรับผิดรับชอบ การวางแผน อันนี้สำคัญคือ ความกล้าของพระเอกหนัง.......เมื่อกลับมาถึงหอพักประมาณ 4 ทุ่มได้....ผมก็มานั่งหาข้อมูลเกี่ยวกับเรือรบไทยและ อเมริกา.....ตามประสาเด็กบ้าหนังเข้าสมองช่วงแรก  

เรือรบไทย....มีไรบ้าง
        การจัดกำลังทางเรือของกองทัพเรือไทย เรือเกือบทั้งหมดจะสังกัดกองเรือต่างๆ จำนวน 8 กองเรือ และขึ้นตรงกับกองเรือยุทธการ (กร.) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเตรียมกำลัง (ดูแลรักษาซ่อมบำรุงเรือและทำการฝึกกำลังพลประจำเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมรบ) โดยเป็นการจัดในลักษณะของการจัดตามประเภทของเรือ (type organization) แต่ในการปฏิบัติภารกิจจริง เรือจากกองเรือต่างๆ จะได้รับการจัดรวมกันตามประเภทของภารกิจ (task organization) ขึ้นตรงกับทัพเรือภาคที่ 1 ถึง 3 (ทรภ.1 ถึง 3) ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยใช้กำลัง ในลักษณะหน่วยเฉพาะกิจ เช่น หมวดเรือลาดตระเวนชายแดน (มชด.) สังกัด ทรภ.1 ที่ประกอบด้วยเรือเร็วโจมตี เรือตรวจการณ์ปืน เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง หรือเรือจากกองเรือต่างๆ อาจขึ้นตรงกับหน่วยเฉพาะกิจต่างๆ ของกองทัพเรือโดยตรง เช่น หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง (นรข.) หรือหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล (มรก.) นอกจากนี้ใน กร. เองยังมีเรือที่ไม่ได้ขึ้นกับกองเรือทั้ง 8 กองเรือ แต่อยู่ในสังกัดของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (นสร.) จำนวนหนึ่ง คือ เรือตรวจการณ์ชายฝั่งและเรือปฏิบัติการพิเศษ สำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของกำลังพลนักทำลายใต้น้ำจู่โจม (SEAL) สำหรับเรืออื่นๆ คือ เรือสำรวจและเรือใช้งานเครื่องหมายทางเรือจะอยู่ในสังกัดของกรมอุทกศาสตร์ เรือที่กล่าวถึงนี้จะไม่รวมถึงเรือขนาดเล็กที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางเรือโดยตรงอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ในสังกัดของกองสนับสนุน กองเรือยุทธการ (กสน.กร.) ที่เรียกว่า เรือ กร. และที่อยู่ในสังกัดของกองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ (กรล.ขส.ทร.) ที่เรียกว่า เรือ ขส. เช่น เรือรับรอง เรือบริการ เรือลำเลียง เรือลากจูง และเรือราชพิธี

การตั้งชื่อเรือหลวง....มีเกณฑ์อย่างไร

    การตั้งชื่อเรือหลวงของกองทัพเรือ มีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อแบบอัศจรรย์อยู่บ้างนะครับซึ่งเป็นระเบียบของกองทัพเรือเองนะครับ
 1. เรือพิฆาต ตั้งตามชื่อตัว ชื่อบรรดาศักดิ์ หรือชื่อสกุล ของบุคคลที่เป็นวีรบุรุษของชาติ
 2. เรือฟริเกต ตั้งตามชื่อแม่น้ำสายสำคัญ
 3. เรือคอร์เวต ตั้งตามชื่อเมืองหลวง หรือเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์
 4. เรือเร็วโจมตี
      - เรือเร็วโจมตี (อาวุธนำวิถี) ตั้งตามชื่อเรือรบในทะเล สมัยโบราณที่มีความหมายเหมาะสมแก่  หน้าที่ของเรือนั้น ๆ
      - เรือเร็วโจมตี (ปืน) เรือเร็วโจมตี (ตอร์ปิโด) ตั้งตามชื่อจังหวัดชายทะเล
 5. เรือดำน้ำ ตั้งตามชื่อผู้มีอิทธิฤทธิ์ในนิยาม หรือวรรณคดีเกี่ยวกับดำน้ำ
 6. เรือทุ่นระเบิด ตั้งตามชื่อสมรภูมิที่สำคัญ
 7. เรือยกพลขึ้นบก เรือส่งกำลังบำรุง เรือน้ำมัน เรือน้ำ เรือลากจูง และเรือลำเลียง ตั้งตามชื่อเกาะ
 8. เรือตรวจการณ์
     - เรือตรวจการณ์ (ปืน) ตั้งตามชื่ออำเภอชายทะเล
     - เรือตรวจการณ์ (ปราบเรือดำน้ำ) ตั้งตามชื่อเรือรบในลำน้ำสมัยโบราณ ที่มีความหมายเหมาะสมแก่หน้าที่ของเรือนั้น ๆ
 9. เรือสำรวจ ตั้งตามชื่อดาวที่สำคัญ

เรือหลวงของไทย......กลับความพร้อม !!!

เรือหลวงจักรีนฤเบศร

เรือหลวงกระบี่
เรือหลวงนเรศวร
เรือหลวงมกุฎราชกุมาร
เรือหลวงเจ้าพระยา
เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เรือหลวงปราบปรปักษ์

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของเรือรบหลวงของไทย 
ในกองทัพเรือ
"ผู้ที่รักษาผลประโยชน์ของน่านน้ำไทย"

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

เรียน รด. ไปทำไหม......มันได้อะไร (1)

เรียน รด. ไปทำไหม......มันได้อะไร (1)


                 เป็นคำถามสำหรับเด็กมัธยมตอนต้น......ที่ทุกคนต้องเห็นรุ่นพี่ๆ....ในโรงเรียนที่จะต้องเรียน รด. หรือในปัจจุบันจะเรียกกันว่า "นักศึกษาวิชาทหาร" (นศท.)  มากันตอนเช้าๆ ใส่ชุดพละมาสมัครเข้าสถานที่ทดสอบกำลังใจและความสามารถว่าจะได้เรียน รด. หรือเปล่า โดยจะมีหลายสถานีทั้งการวิ่งจับเวลา การลุกนั่ง การดันพื้น ต่างๆนานา สุดแท้แต่ศูนย์ฝึกของแต่ละที่จะดำเนินการสอบ
                 เกริ่นนำ......สักหน่อย.......นักศึกษาวิชาทหาร หรือ ที่เราเรียกติดปากกันเคยชินว่า "รด." เด็กไทยหัวเกรียน คือใคร
                บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 หรือ นิยมเรียกว่า (อย่างไม่เป็นทางการ) รด. เป็นกำลังสำรองของกองทัพไทยภายใต้การควบคุมของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (เดิมเรียกว่า กรมการรักษาดินแดน) อันนี้คือตามกฏหมายเลยก็ว่าได้

แต่การเรียน รด. มันได้อะไรมากกว่าที่เราคิด

                หลายคนอาจไม่มีโอกาสได้เรียน รด. แต่จำนวนไม่น้อยของเด็กมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศต้องผ่านการเรียน รด. การเรียนนักศึกษาวิชาทหารทำให้เราได้ประสบการณ์ต่างๆมากมายทั้งการเรียนรู้อยู่ร่วมกับครูฝึก ที่..........โหด...........มันส์..........ฮ่า............หรือบ้าบิ้นก็ตาม
                สำหรับตัวผมแล้วได้มีโอกาสเรียน รด. หรือ นศท. จนจบชั้นปีที่ 5 ของนักศึกษาวิชาทหารจึงได้เรียนรู้อะไรต่างๆมากมาย แบบการลงโทษของครูฝึกจะมีวิธีการลงโทษหลายอย่างด้วยกัน เท่าที่ผมจำได้ก็จะมีดังนี้
   1.ลงโทษแบบพื้นๆ คือ การลุกนั่ง  ดันพื้น  วิ่งรอบสนาม
   2.ท่าจะหนักขึ้นหน่อย คือ กระโดดน้ำ  แช่โคลน กลิ้งไปกลิ้งมา
   3.ท่าแปลกๆก็จะให้...อมปากกระบอกปืน ปลย.88 (อันนี้หนักมาก)
   4.หรือให้กอดปืน ปลย.88 และก็ทิ้งดิ่งลงมาจากโต๊ะ
การลงโทษก็สุดแท้จะเป็นวิธีและประสบการณ์ขอครูฝึกอันนี้ขอบอกว่า "มันส์มาก" และมันก็เป็น "เสนห์"
              เรียน รด. ในห้วงการฝึกภาคสนามจะแบ่งดังต่อไปนี้ ส่วนมากนักศึกษาวิชาทหารจะได้ไปฝึกกันที่ เขาชนไก่  อำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี (ร้อนสุดๆ)
   1.นศท.ปี 1  ไม่มีการฝึกภาคสนาม
   2.นศท.ปี 2   ฝึกภาคสนามรวม 5 วัน  (แต่ทราบว่าในปัจจุบันไม่มีการฝึกแล้ว)
   2.นศท.ปี 3   ฝึกภาคสนามรวม 7 วัน  แบบนรกชัดๆ
   2.นศท.ปี 4   ฝึกภาคสนามรวม 7 วัน  แบบรบพิเศษสบายๆสไตล์ร้อน เกือบแย่วะนรกชัดๆ
   2.นศท.ปี 5   ฝึกภาคสนามรวม 7 วัน  แบบรบในแบบสไตล์สบายๆใกล้จะเป็นว่าที่หมวด
การไปภาคสนามทำให้เราได้เพื่อนต่างโรงเรียนต่างสถาบัน จะเห็นด้วยกันบ้าง มองตาขวางกันบ้างมันก็เป็นเรื่องปกติ ของลูกผู้ชาย....เสืออยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้.....สุดท้ายก็ต้องอยู่เพราะธรรมชาติบังคับ 

ปืนคู่กายประจำตัว.....ห้ามหาย...ปลย.88

          
   ในห้วงการฝึก รด. ทั้งภาคที่ตั้งและภาคสนามเราจะมีปืนคู่กายประจำตัว 1 กระบอกคือ ปลย.88 เป็นปืนสมัยคุณปู่โน้น สงครามโลกชัด หนักมากๆ ที่สำคัญทิ้งไม่ได้ด้วย......เดวโดนซ้อม

เรียน รด. ได้อะไรมากกว่าที่เราเข้าใจ

จบภาค 1 ก่อนโปรดติดตามตอนต่อไป 
"ขอความสุขความสวัสดี จงมีแก่ทุกท่าน"